In house

ข้อดี In house

1.การควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานทำได้ดีกว่า Outsource

 ข้อเสีย In house

1.แต่ต้องขยายธุรกิจด้วยการลงทุนทรัพยากรต่างๆเพิ่มขึ้นและมักพบปัญหาว่าองค์กรจะใหญ่โตขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการบางครั้งควบคุมต้นทุนไม่ได้ 

2. ความเป็นผู้ชำนาญการในวิชาชีพหรือทักษะนั้นๆรวมถึงศักยภาพของบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินงาน ต้องมีประวัติการดำเนินงานเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้


 3.การบริหารควบคุมต้นทุนการดำเนินงานการผลิตตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆต้องเปรียบเทียบทั้ง2ทางเลือกในระยะสั้นและระยะยาว งานที่ต้องใช้แรงงานในการดำเนินการ เช่น งานแพ็คสินค้าการOutsourceดูเหมือนว่าจะควบคุมต้นทุนได้ดีกว่าการIn house 

Out source

ข้อดี Outsource
1. ลดต้นทุน
นอกจากคุณจะลดต้นทุนแล้ว คุณยังจะได้งานคุณภาพอีกด้วย มิหนำซ้ำยังใช้พนักงานในจำนวนที่น้อยลงอีกด้วย
2. เข้าถึงทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
กำไรอย่างหนึ่งที่ได้จากการจ้าง outsource ก็คือความรอบรู้ ทักษะ และประสบการณ์ สิ่งเหล่านี้ outsource สามารถตอบโจทย์เราได้อย่างดี
3. ประหยัดเวลา
คุณสามารถข้ามหรือไม่จำเป็นต้องโฟกัสไปยังงานเล็กๆ ซึ่งไม่ได้สำคัญอะไรมากนักได้ มันช่วยประหยัดเวลาในการทำธุรกิจ เพื่อมุ่งไปสู่สิ่งที่สำคัญหรือจะต้องทำก่อนได้เลย
4. เริ่มต้นโปรเจ็กต์ได้อย่างรวดเร็ว
การจะจัดสรรหาคนภายใน หรือเทรนคนเพื่อมาทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งค่อนข้างใช้เวลาทีเดียว ดังนั้น การเลือกใช้บริษัท outsource เข้ามาดูแลงาน ซึ่งมีความพร้อมอยู่แล้วนั้นก็จะทำให้เราสามารถเริ่มโปรเจ็กต์งานชิ้นนั้นได้ทันที
 5. ทีมงานมีความยืดหยุ่น
การจ้าง outsource จะช่วยทำให้งานของคุณสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลไหน สภาพอากาศเป็นอย่างไร หรือคุณต้องการอะไรในโปรเจ็คต์นั้นบ้าง
6. ลดความเสี่ยง
การทำงานจำเป็นต้องใช้ทักษะมากมาย หากคุณจัดการกระจายความเสี่ยงออกไปให้บริษัทภายนอกเข้ารับทำ ก็จะเป็นการจัดการด้วยความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
  
ข้อเสีย Outsource
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะจ้างงานจาก outsource ข้อที่คุณจะต้องพึงพิจารณาก่
1.ผลผลิตที่ได้อาจจะต่ำกว่ามาตรฐานหรืออาจเกิดปัญหาติดขัดเรื่องเวลา อาจจะไม่สามารถควบคุมเรื่องเวลาได้
2. Outsource ต้องการให้คุณส่งข้อมูลจำนวนมากให้ ซึ่งมีโอกาสรั่วไหลไปยังมือที่ 3 ได้ ดังนั้น ก่อนยื่นข้อเสนอคุณควรจะทำสัญญาข้อตกลงเพื่อปกปิดข้อมูลที่จำเป็นไว้ด้วย
3. Outsource อาจจะขาดความใส่ใจในหรือไม่ค่อยโฟกัสในโปรเจ็คต์ของคุณ เพราะว่าพวกเขาอาจจะมีลูกค้าที่ดูแลอยู่มาก ดังนั้น คุณจำเป็นต้องมอนิเตอร์งานที่พวกเขาทำให้ดีด้วย  ดังนั้น ลองพิจารณาข้อดีและข้อเสียของการจ้าง Outsource มาทำงานให้กับธุรกิจของคุณดู ว่าอะไรคุ้มค่ากว่ากัน



Carbon Footprint


"ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษหรือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่หนึ่งที่ใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงที่อื่นๆ ด้วย"
รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) เป็นการวัดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อมในแง่ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สร้างขึ้นมาจากกิจกรรมนั้นๆ โดยวัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา รอยเท้าคาร์บอนใช้ประเมินว่าคน ประเทศ หรือองค์กรหนึ่งๆ สร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากน้อยเพียงใด วิธีการหลักของรอยเท้าคาร์บอนคือ ประเมินปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและประเมินความมากน้อยในการส่งเสริมพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดขององค์นั้น เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือการปลูกป่า รอยเท้าคาร์บอนเป็นส่วนย่อยของรอยเท้าระบบนิเวศ (Ecological footprint) ซึ่งจะรวมเอาความต้องการของมนุษย์ทั้งหมดในระบบชีวนิเวศน์เข้าไปด้วย

Carbon Footprint (CF) เป็นค่าทางวิทยาศาสตร์ที่คำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมต่างๆ สู่บรรยากาศ  โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการวัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีทั้งทางตรงและทางอ้อม


ทางตรง เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยอกมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงรวมถึงการใช้พลังงานในครัวเรือนและยานพาหนะ
ทางอ้อม เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ โดยคำนวณรวมทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่กระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การเพาะปลูก การแปรรูป การขนส่ง การใช้งาน รวมไปถึงกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งาน เรียกได้ว่าตลอดวัฎจักร์ชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA: Life Cycle Assessment)

Carbon footprint กับชีวิตประจำวัน

กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิด Carbon Footprint ทั้งการเดินทาง การรับประทานอาหาร กิจกรรมในครัวเรือน และในที่ทำงาน

เครื่องหมาย Carbon Footprint

เครื่องหมาย Carbon Footprint ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่
ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้ Carbon Footprint ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศษ สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ป่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมาย Carbon Footprint ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน จะช่วยให้เรามีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลกเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษมากที่สุด
1. 
การใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กรและบ้านเรือน (15%)
2. กิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจ (14%)
3. 
บริการสาธารณะ (12%)
4. 
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน (12%)
5. 
การคมนาคม/เดินทาง (ส่วนตัว) (10%)
6. 
การสร้างบ้านและการทำเฟอร์นิเจอร์ (9%)
7. 
โรงงานรถยนต์ (7%)
8. 
การเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน (6%)
9. 
อาหารและเครื่องดื่ม (5%)
10. 
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (4%)
11. 
บริหารขนส่งสาธารณะ (3%)
12. 
บริการการเงิน (3%)

Carbon Footprint Calculator

Carbon Footprint Calculator เป็นเครื่องคิดเลขที่จะช่วยคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกต่างๆ จากกิจกรรมที่เราทำ ตัวอย่างเช่น ปริมาณการใช้พลังงานในบ้านเรือน การเดินทางด้วยเครืองบิน รถยนต์ จักรยานยนต์ เป็นต้น ตัวอย่างตัวเลขจากการคำนวณเรื่องการขับขี่รถยนต์

คำถาม: หากเรามีรถยนต์หนึ่งคัน เป็นรถยนต์โตโยต้า CAMRY ซื้อมาเมื่อปี ค.ศ. 2005 วิ่งมาได้ หมื่นกิโลเมตร จะก่อให้เกิดก๊าซ Co2 เท่าไหร่?คำตอบ: 18.20 ตัน

ขณะที่จากข้อมูลชาวอเมริกันทิ้งร่อยรอยการปล่อยก๊าซโดยเฉลี่ย 20.40 ส่วนค่าเฉลี่ยของประชากรโลกที่ปล่อยก๊าซ คือ ตัน