Carbon Footprint


"ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษหรือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่หนึ่งที่ใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงที่อื่นๆ ด้วย"
รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) เป็นการวัดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อมในแง่ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สร้างขึ้นมาจากกิจกรรมนั้นๆ โดยวัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา รอยเท้าคาร์บอนใช้ประเมินว่าคน ประเทศ หรือองค์กรหนึ่งๆ สร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากน้อยเพียงใด วิธีการหลักของรอยเท้าคาร์บอนคือ ประเมินปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและประเมินความมากน้อยในการส่งเสริมพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดขององค์นั้น เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือการปลูกป่า รอยเท้าคาร์บอนเป็นส่วนย่อยของรอยเท้าระบบนิเวศ (Ecological footprint) ซึ่งจะรวมเอาความต้องการของมนุษย์ทั้งหมดในระบบชีวนิเวศน์เข้าไปด้วย

Carbon Footprint (CF) เป็นค่าทางวิทยาศาสตร์ที่คำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมต่างๆ สู่บรรยากาศ  โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการวัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีทั้งทางตรงและทางอ้อม


ทางตรง เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยอกมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงรวมถึงการใช้พลังงานในครัวเรือนและยานพาหนะ
ทางอ้อม เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ โดยคำนวณรวมทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่กระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การเพาะปลูก การแปรรูป การขนส่ง การใช้งาน รวมไปถึงกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งาน เรียกได้ว่าตลอดวัฎจักร์ชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA: Life Cycle Assessment)

Carbon footprint กับชีวิตประจำวัน

กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิด Carbon Footprint ทั้งการเดินทาง การรับประทานอาหาร กิจกรรมในครัวเรือน และในที่ทำงาน

เครื่องหมาย Carbon Footprint

เครื่องหมาย Carbon Footprint ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่
ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้ Carbon Footprint ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศษ สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ป่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมาย Carbon Footprint ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน จะช่วยให้เรามีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลกเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษมากที่สุด
1. 
การใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กรและบ้านเรือน (15%)
2. กิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจ (14%)
3. 
บริการสาธารณะ (12%)
4. 
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน (12%)
5. 
การคมนาคม/เดินทาง (ส่วนตัว) (10%)
6. 
การสร้างบ้านและการทำเฟอร์นิเจอร์ (9%)
7. 
โรงงานรถยนต์ (7%)
8. 
การเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน (6%)
9. 
อาหารและเครื่องดื่ม (5%)
10. 
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (4%)
11. 
บริหารขนส่งสาธารณะ (3%)
12. 
บริการการเงิน (3%)

Carbon Footprint Calculator

Carbon Footprint Calculator เป็นเครื่องคิดเลขที่จะช่วยคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกต่างๆ จากกิจกรรมที่เราทำ ตัวอย่างเช่น ปริมาณการใช้พลังงานในบ้านเรือน การเดินทางด้วยเครืองบิน รถยนต์ จักรยานยนต์ เป็นต้น ตัวอย่างตัวเลขจากการคำนวณเรื่องการขับขี่รถยนต์

คำถาม: หากเรามีรถยนต์หนึ่งคัน เป็นรถยนต์โตโยต้า CAMRY ซื้อมาเมื่อปี ค.ศ. 2005 วิ่งมาได้ หมื่นกิโลเมตร จะก่อให้เกิดก๊าซ Co2 เท่าไหร่?คำตอบ: 18.20 ตัน

ขณะที่จากข้อมูลชาวอเมริกันทิ้งร่อยรอยการปล่อยก๊าซโดยเฉลี่ย 20.40 ส่วนค่าเฉลี่ยของประชากรโลกที่ปล่อยก๊าซ คือ ตัน