SOA

 SOA (Service-Oriented Architecture)         เป็นหลักการการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก หลายองค์กรพยายามที่จะออกแบบระบบทางด้านไอทีให้เข้าสู่ระบบ SOA คือการออกแบบที่มุ่งเน้นให้แอพพลิเคชันสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม ภาษาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา

ความหมายของ SOA         ระบบสถาปัตยกรรมเชิงบริการหรือ SOA เป็นแนวคิดในการจะออกแบบระบบไอทีในองค์กรให้เป็นระบบเชิงบริการ (Service-Oriented) ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทั้งนี้ระบบไอทีขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันมักจะมีสถาปัตยกรรมแบบ Silo-Oriented Architecture ซึ่งการพัฒนาระบบไอทีในแต่ละระบบต่างเป็นอิสระต่อกัน อาจมีระบบที่ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันเช่น Java, .NET, Oracle หรือ SAP เป็นต้น จึงทำให้ยากต่อการเชื่อมต่อ บำรุงรักษายาก มีค่าใช้จ่ายสูง ปรับเปลี่ยนระบบได้ยาก และการพัฒนาระบบใหม่ๆ เป็นไปด้วยความล่าช้า ดังแสดงในรูปที่ 1
                                                      รูปที่ 1 Silo-Oriented Architecture
แนวคิดของระบบ SOA คือการจัดระบบ Silo-Oriented Architecture ใหม่ โดยการสร้างระบบไอทีให้เป็น 4 ชั้น (Layer) ดังแสดงในรูปที่ 2 และ 3
               • Resource Layer ซึ่งจะเป็นชั้นของระบบโครงสร้างไอทีต่างๆ ในปัจจุบัน เช่นระบบฐานข้อมูล Oracleระบบโซลูชัน SAP หรือ PeopleSoft เป็นต้น

               • Service Layer ซึ่งเป็นชั้นของส่วนประกอบเซอร์วิสต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ โดยส่วนประกอบเซอร์วิสเหล่านี้จะพัฒนามาจากโมดูล (Module) ต่างๆ ที่ทำงานบน Resource Layer เช่นโมดูลของฐานข้อมูล Oracle โมดูลของระบบโซลูชัน SAP หรือ PeopleSoft และโมดูลของโปรแกรมประยุกต์ที่อาจพัฒนาด้วย Java หรือ .NET เป็นต้น

               • Process Layer ซึ่งเป็นชั้นของกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ที่พัฒนาขึ้นมาจากการส่วนประกอบเซอร์วิสต่างๆ 

               • Access Layer ซึ่งเป็นชั้นของการเรียกใช้กระบวนการทางธุรกิจที่พัฒนาขึ้น โดยอาจผ่านทางเว็บไซต์ (Web Site) หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone)
                                                                      รูปที่ 2 SOA Layers
                                                          รูปที่ 3 SOA Conceptual Diagra
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า SOA เป็นการเปลี่ยนระบบ Silo-Oriented Architecture มาสู่ระบบ Service-Oriented ซึ่งออกแบบเป็นชั้นๆ ทำให้สามารถพัฒนาปรับปรุง หรือเพิ่มเติมโปรแกรมใหม่ได้ง่าย ดังแสดงในรูปที่ 4
           เนื่องจาก SOA เป็นหลักการในการออกแบบ จึงทำให้การทำความเข้าใจและนำไปพัฒนาให้ใช้งานได้จริงจึงเป็นเรื่องที่ยาก จนเมื่อเว็บเซอร์วิส (Web Service) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เกิดขึ้นมา จึงทำให้แนวคิด SOA ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างมาก จนบางครั้งอาจทำให้คิดว่า SOA และ เว็บเซอร์วิสเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งในความจริงนั้น SOA เป็นแนวคิดหรือรูปแบบในการออกแบบการให้บริการ ส่วนเว็บเซอร์วิสเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เท่านั้น ทั้งนี้อาจใช้แนวทางอื่นในการพัฒนาระบบ SOA เช่นการใช้ CORBA (Common Object Request Broker Architecture) หรือ Java RMI (Remote Method Invocation)ก็ได้เช่นกัน
                                                      รูป ที่ 4 แนวคิดสถาปัตยกรรม SOA 
ระบบ SOA จะมีคุณลักษณะที่สำคัญหลักๆ ดังนี้
               • การติดต่อสื่อสารระหว่างเซอร์วิส จะใช้เอกสารที่เป็น XML ที่นิยามผ่าน XML Schema (.xsd) ทำให้ไม่จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของแฟลตฟอร์มและเทคโนโลยีของเซอร์วิสที่ ใช้อยู่

                เซอร์วิสจะมีตัวเชื่อมต่อ (Interface) ที่อธิบายเซอร์วิส เช่น Service Name, Input Parameter, Output Parameter และข้อมูลอื่นๆ ในรูปแบบของไฟล์ XML ทำให้ไม่ขึ้นกับแฟลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่เซอร์วิสนั้นใช้อยู่ โดยมากมักจะใช้มาตรฐาน WSDL (Web Service Description Language) ในการอธิบายเซอร์วิส

               • โปรแกรมประยุกต์ (Application) หรือกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ สามารถพัฒนาขึ้นมาจากการใช้เซอร์วิสเดิมที่มีอยู่ ซึ่งมาตรฐานที่นิยมใช้คือ WS-BPEL (Web Service Business Process Execution Language) 

               • SOA จะมี Registry ในการเก็บเซอร์วิสต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่ง Registry จะทำหน้าที่เหมือนไดเร็กทอรี่ของเซอร์วิส โดยโปรแกรมประยุกต์หรือกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ จะค้นหาและเรียกใช้เซอร์วิสจาก Registry นี้ มาตรฐานที่ใช้ในการเก็บ Registry ที่นิยมใช้คือ UDDI (Universal Description Definition and Integration)

               • เซอร์วิสแต่ละตัวจะมีส่วนการควบคุมคุณภาพที่เป็น QoS (Quality of Service) อาทิเช่นการควบคุมความปลอดภัยด้าน Authentication, Authorization, Reliable Message และ Policy

In house

ข้อดี In house

1.การควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานทำได้ดีกว่า Outsource

 ข้อเสีย In house

1.แต่ต้องขยายธุรกิจด้วยการลงทุนทรัพยากรต่างๆเพิ่มขึ้นและมักพบปัญหาว่าองค์กรจะใหญ่โตขาดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการบางครั้งควบคุมต้นทุนไม่ได้ 

2. ความเป็นผู้ชำนาญการในวิชาชีพหรือทักษะนั้นๆรวมถึงศักยภาพของบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินงาน ต้องมีประวัติการดำเนินงานเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้


 3.การบริหารควบคุมต้นทุนการดำเนินงานการผลิตตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆต้องเปรียบเทียบทั้ง2ทางเลือกในระยะสั้นและระยะยาว งานที่ต้องใช้แรงงานในการดำเนินการ เช่น งานแพ็คสินค้าการOutsourceดูเหมือนว่าจะควบคุมต้นทุนได้ดีกว่าการIn house 

Out source

ข้อดี Outsource
1. ลดต้นทุน
นอกจากคุณจะลดต้นทุนแล้ว คุณยังจะได้งานคุณภาพอีกด้วย มิหนำซ้ำยังใช้พนักงานในจำนวนที่น้อยลงอีกด้วย
2. เข้าถึงทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
กำไรอย่างหนึ่งที่ได้จากการจ้าง outsource ก็คือความรอบรู้ ทักษะ และประสบการณ์ สิ่งเหล่านี้ outsource สามารถตอบโจทย์เราได้อย่างดี
3. ประหยัดเวลา
คุณสามารถข้ามหรือไม่จำเป็นต้องโฟกัสไปยังงานเล็กๆ ซึ่งไม่ได้สำคัญอะไรมากนักได้ มันช่วยประหยัดเวลาในการทำธุรกิจ เพื่อมุ่งไปสู่สิ่งที่สำคัญหรือจะต้องทำก่อนได้เลย
4. เริ่มต้นโปรเจ็กต์ได้อย่างรวดเร็ว
การจะจัดสรรหาคนภายใน หรือเทรนคนเพื่อมาทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งค่อนข้างใช้เวลาทีเดียว ดังนั้น การเลือกใช้บริษัท outsource เข้ามาดูแลงาน ซึ่งมีความพร้อมอยู่แล้วนั้นก็จะทำให้เราสามารถเริ่มโปรเจ็กต์งานชิ้นนั้นได้ทันที
 5. ทีมงานมีความยืดหยุ่น
การจ้าง outsource จะช่วยทำให้งานของคุณสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลไหน สภาพอากาศเป็นอย่างไร หรือคุณต้องการอะไรในโปรเจ็คต์นั้นบ้าง
6. ลดความเสี่ยง
การทำงานจำเป็นต้องใช้ทักษะมากมาย หากคุณจัดการกระจายความเสี่ยงออกไปให้บริษัทภายนอกเข้ารับทำ ก็จะเป็นการจัดการด้วยความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
  
ข้อเสีย Outsource
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะจ้างงานจาก outsource ข้อที่คุณจะต้องพึงพิจารณาก่
1.ผลผลิตที่ได้อาจจะต่ำกว่ามาตรฐานหรืออาจเกิดปัญหาติดขัดเรื่องเวลา อาจจะไม่สามารถควบคุมเรื่องเวลาได้
2. Outsource ต้องการให้คุณส่งข้อมูลจำนวนมากให้ ซึ่งมีโอกาสรั่วไหลไปยังมือที่ 3 ได้ ดังนั้น ก่อนยื่นข้อเสนอคุณควรจะทำสัญญาข้อตกลงเพื่อปกปิดข้อมูลที่จำเป็นไว้ด้วย
3. Outsource อาจจะขาดความใส่ใจในหรือไม่ค่อยโฟกัสในโปรเจ็คต์ของคุณ เพราะว่าพวกเขาอาจจะมีลูกค้าที่ดูแลอยู่มาก ดังนั้น คุณจำเป็นต้องมอนิเตอร์งานที่พวกเขาทำให้ดีด้วย  ดังนั้น ลองพิจารณาข้อดีและข้อเสียของการจ้าง Outsource มาทำงานให้กับธุรกิจของคุณดู ว่าอะไรคุ้มค่ากว่ากัน



Carbon Footprint


"ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษหรือความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่หนึ่งที่ใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงที่อื่นๆ ด้วย"
รอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) เป็นการวัดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อมในแง่ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สร้างขึ้นมาจากกิจกรรมนั้นๆ โดยวัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา รอยเท้าคาร์บอนใช้ประเมินว่าคน ประเทศ หรือองค์กรหนึ่งๆ สร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากน้อยเพียงใด วิธีการหลักของรอยเท้าคาร์บอนคือ ประเมินปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและประเมินความมากน้อยในการส่งเสริมพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดขององค์นั้น เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือการปลูกป่า รอยเท้าคาร์บอนเป็นส่วนย่อยของรอยเท้าระบบนิเวศ (Ecological footprint) ซึ่งจะรวมเอาความต้องการของมนุษย์ทั้งหมดในระบบชีวนิเวศน์เข้าไปด้วย

Carbon Footprint (CF) เป็นค่าทางวิทยาศาสตร์ที่คำนวณปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมต่างๆ สู่บรรยากาศ  โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งการวัดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีทั้งทางตรงและทางอ้อม


ทางตรง เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยอกมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงรวมถึงการใช้พลังงานในครัวเรือนและยานพาหนะ
ทางอ้อม เป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ โดยคำนวณรวมทั้งกระบวนการผลิตตั้งแต่กระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การเพาะปลูก การแปรรูป การขนส่ง การใช้งาน รวมไปถึงกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งาน เรียกได้ว่าตลอดวัฎจักร์ชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA: Life Cycle Assessment)

Carbon footprint กับชีวิตประจำวัน

กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิด Carbon Footprint ทั้งการเดินทาง การรับประทานอาหาร กิจกรรมในครัวเรือน และในที่ทำงาน

เครื่องหมาย Carbon Footprint

เครื่องหมาย Carbon Footprint ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่
ตั้งแต่กระบวนการหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัดเมื่อกลายเป็นของเสีย ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น การใช้ Carbon Footprint ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกด้วย เนื่องจากขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำ Carbon Footprint มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศษ สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ป่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมาย Carbon Footprint ด้วย นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีการดำเนินโครงการและเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน จะช่วยให้เรามีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นในการประชุมระดับโลกเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษมากที่สุด
1. 
การใช้เชื้อเพลิงภายในองค์กรและบ้านเรือน (15%)
2. กิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจ (14%)
3. 
บริการสาธารณะ (12%)
4. 
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน (12%)
5. 
การคมนาคม/เดินทาง (ส่วนตัว) (10%)
6. 
การสร้างบ้านและการทำเฟอร์นิเจอร์ (9%)
7. 
โรงงานรถยนต์ (7%)
8. 
การเดินทางท่องเที่ยวด้วยเครื่องบิน (6%)
9. 
อาหารและเครื่องดื่ม (5%)
10. 
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม (4%)
11. 
บริหารขนส่งสาธารณะ (3%)
12. 
บริการการเงิน (3%)

Carbon Footprint Calculator

Carbon Footprint Calculator เป็นเครื่องคิดเลขที่จะช่วยคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกต่างๆ จากกิจกรรมที่เราทำ ตัวอย่างเช่น ปริมาณการใช้พลังงานในบ้านเรือน การเดินทางด้วยเครืองบิน รถยนต์ จักรยานยนต์ เป็นต้น ตัวอย่างตัวเลขจากการคำนวณเรื่องการขับขี่รถยนต์

คำถาม: หากเรามีรถยนต์หนึ่งคัน เป็นรถยนต์โตโยต้า CAMRY ซื้อมาเมื่อปี ค.ศ. 2005 วิ่งมาได้ หมื่นกิโลเมตร จะก่อให้เกิดก๊าซ Co2 เท่าไหร่?คำตอบ: 18.20 ตัน

ขณะที่จากข้อมูลชาวอเมริกันทิ้งร่อยรอยการปล่อยก๊าซโดยเฉลี่ย 20.40 ส่วนค่าเฉลี่ยของประชากรโลกที่ปล่อยก๊าซ คือ ตัน

      

Ajax

Ajax (Asynchronous JavaScript and XML) คืออะไร ?
Ajax ไม่ใช่ชื่อของการเขียนโปรแกรมหรือเป็นชื่อของภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม แต่เป็นชุดของเทคโนโลยีต่างๆ Ajax ย่อมาจากAsynchronous JavaScript And XML; ซึ่งหมายถึงการทำงานร่วมกันของ JavaScript? และ XML แบบ Asynchronous มีหลักการทํางาน 2ประเด็น คือ การ update หน้าจอแบบบางส่วน และการติดต่อสื่อสารกับ Server โดยใช้หลักการ Asynchronous ทําให้ผู้ใช้ไม่ต้องหยุดการทํางาน เพื่อรอการประมวลผลจาก Server รวมถึงการโหลดและการรีเฟรชหน้าจอ ของบราวเซอร์ทางฝั่ง Client มีการใช้ Ajax โดยการเพิ่มเลเยอร์ระหว่าง user browser กับ server ทําให้ผู้ใช้สามารถทํางานได้โดยไม่ต้องรอให้ Client ติดต่อไปยัง Server รวมถึงการโหลดและการรีเฟรชหน้าจอทั้งหมดด้วย ดังนั้นผู้ใช้สามารถใช้งาน application ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
AJAX จึงไม่ใช่เทคโนโลยีในตัวของมันเอง แต่ว่าเป็นการนำเทคโนโลยีหลายๆ ตัวมารวมกันเช่น JavaScript?, DHTML, XML, Css, Dom และXMLHTTPRequest

Ajax engine ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง client และ server ฉะนั้นเมื่อ client มี requestแทนที่จะส่ง HTTP request ไปยัง server โดยตรงclient จะส่ง JavaScript? call ไปยัง Ajax engine เพื่อโหลดข้อมูลที่ user ต้องการ และหาก Ajax engine ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในการตอบสนองต่อ user Ajax engine จะส่ง request ไปยัง server โดยใช้ XML
การ์เรตได้กล่าวถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของ Ajax ซึ่งได้แก่
HTML/XHTML เป็นภาษาในการจัดแสดงข้อมูล
CSS เป็นรูปแบบการจัดแต่ง XHTML
Document Object Model (DOM) สำหรับ dynamic display and interaction
XML เป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนดาต้า
XSLT สำหรับ แปลง XML เป็น XHTML
XMLHTTPRequest สำหรับ asynchronous data retrieval
JavaScript? เป็นภาษาในการใช้งาน Ajax engine
โดยส่วนประกอบจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ใน Ajax ได้แก่ HTML/XHTML DOM และ JavaScript? เพราะ XHTML
ประวัติความเป็นมา
ในช่วงแรกๆของการพัฒนา คือปี 1997 นั้น Component แรกที่เกิดขึ้นทางฝั่ง Client ถูกเขียนขึ้นโดยทีมพัฒนา Outlook Web Access ซึ่งต่อมาถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ Internet Explorer 5.0 นั่นก็คือจุดเริ่มต้นที่เริ่มรู้จักการทำงานแบบ Ajax และในปี 2005 Google ได้ใช้การติดต่อสื่อสารแบบ Asynchronous เพื่อเป็นรากฐานที่ทำให้รู้จักกับ Ajax กันอย่างแพร่หลาย การทำงานแบบ Client – Server ถูกนำมาใช้งานเป็นจำนวนมาก เช่น การติดต่อกับฐานข้อมูลที่ Server หรือการให้บริการทางอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Google เป็นผู้ลงทุนลงแรงอย่างหนัก ในพัฒนาและการทดสอบ Ajax จึงสังเกตได้ว่า ผลผลิตใหญ่ของ Google ในช่วงต้นปี 2005 จึงเป็นการนำ Ajax มาประยุกต์ใช้งาน เช่น Gmail, GoogleMap?, GoogleSuggest? และ GoogleGroup? เป็นต้น
ที่มาของปัญหา
เนื่องจากแอพลิเคชั่นที่ใช้งานในปัจจุบันนี้ มีหลักการที่ทำงานแล้วเกิดการสูญเสียเวลาและทรัพยากรของผู้ใช้ในการรอคอยการ ทำงานต่างๆ ทำให้ผู้ใช้ต้องหยุดคอย ดังนั้นการทำงานของผู้ใช้จึงเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง ซึ่งหลักการดังกล่าวคือ
1.”Click, wait, and refresh” user interaction paradigm
การที่บราวเซอร์ตอบสนองต่อการทำงานของผู้ใช้ โดยจะทิ้งหน้าเว็บที่แสดงอยู่ในขณะนั้น แล้วไปทำการส่ง HTTP request กลับไปยัง serverแทน ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถทำอะไรได้เลยในขณะนั้น นอกจากการรอคอย เมื่อ server ทำการประมวลเสร็จก็จะส่งหน้า HTML กลับมายังบราวเซอร์ ต่อจากนั้นบราวเซอร์ก็จะรีเฟรชและแสดงหน้า HTML หน้าใหม่ และนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานต่อไปได้
จะเห็นว่า ผู้ใช้มีช่วงเวลาของการหยุดรอคอยเป็นเวลานานสำหรับการประมวลผลของ Server และการรีเฟรชหน้า HTML ใหม่ทั้งหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพในเชิง Dynamic ของการทำงานบนเว็บแอพลิเคชั่น

2.Synchronous “request/response” communication mode
การที่บราวเซอร์เริ่มทำการร้องขอข้อมูล และ server ก็ตอบสนองเฉพาะการร้องขอที่บราวเซอร์ร้องขอมา server จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้ถ้าบราวเซอร์ไม่ได้ร้องขอข้อมูลในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการติดต่อสื่อสารเป็นแบบทิศทางเดียว
วงจรการ request/response แบบ synchronous คือ การทำงานแบบประสานจังหวะระหว่างบราวเซอร์กับ Server ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานทำให้ผู้ใช้ทำอะไรไม่ได้อีก นอกจากการคอยการตอบสนองกลับมาจาก server เมื่อ server ประมวลผลเสร็จ
ข้อดีของ Ajax
1. ตอบสนองต่อผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากการ update แบบบางส่วน
2. ผู้ใช้ไม่ต้องหยุดรอคอยการประมวลของ server เนื่องจากการติดต่อแบบ Asynchronous
3. รองรับกับบราวเซอร์หลักๆที่สามารถใช้ JavaScript? ได้
4. ทำให้การประมวลผลที่ Server มีความรวดเร็วขึ้นเนื่องจากการประมวลผลที่ Server ลดลง
5. ไม่ต้องทำการติดตั้ง หรือใช้ Plugs-in
6. ไม่ยึดติดกับ Platform หรือภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
7. เป็นเ ทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ได้เป็นของนักพัฒนาเว็บแอพลิเคชั่นคนใด นั่นคือทุกคนมีสิทธิ์เข้ามาพัฒนาแอพลิเคชั่นตัวนี้